HDPE (High Density Polyethylene)

  • ทนความร้อนได้สูงและความเย็นประมาณ 0 องศาเซลเซียส
  • ทนต่อการฉีกขาด และสามารถรองรับน้ำหนักสินค้าที่อยู่ด้านในได้ดี
  • เนื้อถุงมีความหนาแน่น และป้องกันการซึมผ่านของอากาศได้ดี
  • เหมาะสมสำหรับการใช้งานบรรจุทุกรูปแบบ
  • ทนทานต่อสารเคมี
  • เนื้อค่อนข้างแข็งแต่ยืดได้มาก
  • ผลการทดสอบทางเคมี และชีวภาพสามารถใช้กับอาหารได้ โดยสถาบันทดสอบ SGS (Thailand) Limited

รายละเอียด HDPE (High Density Polyethylene)

High Density Polyethylene เรียกย่อว่า HDPE เป็นพลาสติกประเภทพอลิเอทิลีน (polyethylene, PE) ที่มีค่าความหนาแน่นสูง การเรียงตัวของโมเลกุลจะมีกิ่งก้านมาก มีความหนาแน่นมาก HDPE มีความหนาแน่นประมาณ 0.941-0.965 g/cm3 นิยมใช้กันมากในการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก เช่น ขวด ถัง ถาด ถุงที่ต้องการความแข็งแรงแต่ไม่ต้องการความใสมากนัก

  • ขุ่น แสงผ่านได้น้อยกว่า low density polyethylene (LDPE) และ LLDPE
  • สามารถใช้ได้กับผลิตภัณฑ์ที่เป็นกรดและด่าง ไม่ว่องไวต่อสารเคมี
  • มีความเหนียว ค่อนข้างนิ่ม ยืดหยุ่น ความต้านทานแรงต่างๆ ได้ดี ทนทานต่อแตกหรือการหักงอได้ดี มักใช้งานเป็นถุงที่ต้องรับน้ำหนักมาก ลัง ถัง ตะกร้า
  • ป้องกันการผ่านของอากาศได้ต่ำ จึงไม่เหมาะสำหรับบรรจุผลิตภัณฑ์ที่ใช้การอัดอากาศ
  • สามารถเพิ่มสีสันของขวดได้โดยไม่จำเป็นต้องเคลือบมัน สามารถพิมพ์สกรีนตกแต่งขวดได้
  • ทนความร้อนได้เล็กน้อย ควรบรรจุด้วยวิธีบรรจุแบบอุ่น (Warm filled: 80-100 องศาเซลเซียส)
  • สามารถทนความเย็นต่ำกว่าจุดเยือกแข็งได้ ใช้บรรจุอาหารแช่เยือกแข็ง (frozen food)
  • ป้องกันการซึมผ่านของความชื้นได้สูงมาก
  • การใช้ HDPE แทนที่ LDPE น้ำหนักของขวดสามารถลดลงได้มากกว่า 40% เนื่องจากสามารถเป่าขวดที่มีผิวได้บางมาก

เรียบเรียงโดย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์

สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

LDPE (Low Density Polyethylene)

  • ทนต่อการฉีกขาด และลักษณะเนื้อถุงมีความใส
  • สามารถแปรรูป เปลี่ยนแปลงลักษณะ และสามารถรองรับน้ำหนักสินค้าได้ดี
  • เนื้อถุงนิ่มเหนียว ยืดตัวได้มาก
  • ไม่ค่อยทนต่อความร้อน
  • สามารถมองเห็นสินค้าภายในได้ และสามารถรองรับน้ำหนักสินค้าได้
  • ป้องกันความชื้น และสารเคมีได้ดี
  • ผลการทดสอบทางเคมี และชีวภาพสามารถใช้กับอาหารได้ โดยสถาบันทดสอบ SGS (Thailand) Limited

รายละเอียด LDPE (Low Density Polyethylene)

Low density polyethylene (LDPE) เป็นพลาสติกประเภทพอลิเอทิลีน (polyethylene) ที่มีความหนาแน่นต่ำ

เป็นพอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (low density) (0.910 -0.925 g/cm3)

ชื่อสามัญเรียกว่าถุงเย็น เพราะไม่ทนความร้อน

สามารถใช้ความร้อนเชื่อมติดผนึกได้ดี

นิ่ม ยืดหยุ่นได้ดีทนต่อการทิ่มทะลุและการฉีกขาด

เหนียว ไม่กรอบแตกง่าย แต่ความแข็งและทนทานน้อยกว่า HDPE (high density polyethylene)

โปร่งใส มี ความใสน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับ PP แต่ใสกว่า HDPE (high density polyethylene) ไม่ว่องไวต่อสารเคมี ทนต่อกรดและด่างได้ดี

ป้องกันการผ่านของความชื้นได้ดี

ออกซิเจนและอากาศซึมผ่านได้

ไขมันซึมผ่านได้

ดูดฝุ่นในอากาศมาเกาะติดตามผิว ทำให้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจาก LDPE นี้เมื่อทิ้งไว้นานๆ จะเปรอะด้วยฝุ่น

การใช้เพื่อเป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร

ถุงเย็น

ฟิล์มหดและฟิล์มยืด

ขวดน้ำ ฝาขวด

ใช้เป็นแผ่นฟีส์ม เพื่อทำบรรจุภัณฑ์สำหรับ modified atmosphere packaging

ใช้ผลิตแผ่นฟิล์ม โดยใช้รวมกับวัสดุอื่น เป็นวัสดุประสาน (laminate) เพื่อปิดผนึกด้วยความร้อน และใช้กับบรรจุภัณฑปลอดเชื้อ (aseptic packaging) เช่น

– laminate carton

– bag in box

ข้อจำกัดการใช้

ไม่เหมาะที่จะนำไปใช้บรรจุอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด ขนมอบกรอบ เพราะป้องกันการซึมผ่านเข้าออกของไขมัน และออกซิเจนไม่ดี ทำให้เกิดกลิ่นหืน (rancidity) ได้ง่าย เนื่องจากปฏิกิริยาออกซิเดชันของลิพิด (lipid oxidation)

ไม่ทนต่อความร้อน ไม่สามารถใช้กับกระบวนการบรรจุร้อน (hot fill) ได้ ใช้ได้เฉพาะการบรรจุอาหารขณะเย็นเท่านั้น (Cool filled: อุณหภูมิขณะบรรจุไม่เกิน 80 องศาเซลเซียส)

 

เรียบเรียงโดย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์

สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

PP (Polypropylene)

  • ทนความร้อนสูง
  • มีจุดหลอมตัวสูง ทนต่อการฉีกขาด และสามารถรองรับน้ำหนักสินค้าได้ดี
  • สามารถบรรจุของร้อนและทนความร้อน โดยไม่เสียรูป
  • ป้องกันการซึมผ่านความชื้นและอากาศได้ค่อนข้างดี
  • ป้องกันสารเคมีได้ดี

รายละเอียด PP (Polypropylene)

พอลิโพรไพลีน (polypropylene) เรียกย่อว่า PP เป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่ใช้เป็นวัสดุสำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร มีความหนาแน่นค่อนข้างต่ำ ความหนาแน่น 0.90-0.91 มีจุดหลอมเหลว 160-170 องศาเซลเซียส

  • ขึ้นรูปโดยการหลอมเม็ดพลาสติก PP Food Grade แล้วยิงขึ้นรูป
  • มีความแข็งและเหนียว คงรูปดี ทนต่อการหักงอได้ปานกลาง
  • ทนต่อความร้อนและสารเคมี
  • ใส โปร่งแสงมากกว่า HDPE
  • ป้องกันการผ่านของความชื้นได้ดี
  • ป้องกันการผ่านของอากาศได้ต่ำ
  • ไม่ทนต่อความเย็น
  • การใช้เพื่อเป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร
  • ใช้ผลิตถุงทนร้อน ที่มักเรียกว่า ถุงร้อนชนิดใส
  • ใช้สำหรับบรรจุผลิตภัณฑ์ อาหารเพื่อการแปรรูปอาหารด้วยความร้อน (thermal processing) ทั้งประเภท in-container
  • pasteurization และ in-container sterilization เพราะทนความร้อนได้สูง และสามารถบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารขณะที่ร้อนได้
  • โดยบรรจุด้วยวิธีแบบร้อนได้ (hot filled: 100-121 องศาเซลเซียส)
  • ใช้ทำบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารในครัวเรือน เช่น จาม ชาม ถ้วย
  • ใช้ผลิต retort pouch และ flexible packaging ฆ่าเชื้อด้วยรีทอร์ท (retort) ได้
  • เข้าไมโครเวฟได้ (microwavable)
  • ใช้ผลิตถ้วยหรือชาม สำหรับผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งคืนรูปด้วยการเติมน้ำร้อนจัด
  • หรือเติมน้ำ เข้าไมโครเวฟก็ได้

ข้อจำกัดการใช้

ไม่ทนต่อความเย็น ไม่เหมาะกับอาหารแช่เยือกแข็ง (frozen food)

PP เชื่อมติดได้ยาก ไม่ใช้เป็นวัสดุที่เชื่อมติด

 

เรียบเรียงโดย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์

สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

Biodegradable Plastic

  • มีส่วนผสมของสารเติมแต่งเพื่อการย่อยสลาย และสามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ 100%
  • ไม่มีส่วนผสมของสารก่อมะเร็ง และไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
  • อายุการใช้งาน หรือการสลายตัว ขึ้นอยู่กับปัจจัยการใช้งาน 1 ปี – 5 ปี
  • 100% RECYCLABLE

รายละเอียด Biodegradable Plastic

นักวิจัยของมหาวิทยาลัย Caroliana สหรัฐอเมริกาได้ตีพิมพ์รายงานของความสามารถในการย่อยสลายพลาสติกที่ย่อยสลายด้วยชีวภาพในกระบวนการฝังกลบ รายงานนี้ได้ตีพิมพ์ออนไลน์ที่ “วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม”

รายงานได้กล่าวว่ามันเป็นเรื่องสำคัญที่จะไม่ทำให้สับสนระหว่างพลาสติกที่ย่อยสลายได้โดยกระบวนการทางชีวภาพทั้งสองชนิด NC ได้รายงานเกี่ยวกับพลาสติกที่เป็น Hydrobiodegradable หรือพลาสติกที่ย่อยสลายได้ โดยปกติแล้วจะผลิตมาจากพืชซึ่งพลาสติกชนิดนี้ถูกวางเป้าไว้เพื่อใช้ในกระบวนการทำปุ๋ยหมักเชิงอุตสาหกรรม และนี่คือเหตุผลที่ทำให้อัตราการย่อยสลายของพลาสติกชนิดนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วตามมาตรฐานต่างๆ ดังนี้ ASTM D6400 EN13432 และ Australian4736 และพลาสติกชนิดนี้ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ย่อยสลายในสิ่งแวดล้อมที่เป็นระบบเปิด เนื่องจากพลาสติกนี้จะปล่อยก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซเรื่อนกระจกที่เป็นอันตรายมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ฝังกลบ

บทความดังกล่าวเป็นไปในทางเดียวกับรายงานของมหาวิทยาลัย NCState แต่ในรายงานไม่ได้แยกระหว่างพลาสติกที่ย่อยสลายได้และพลาสติกที่เป็น Oxo-biodegradable สำหรับพลาสติกที่เป็น Oxo-biodegradable ไม่ส่งผลถึงการเกิดปัญหาเรื่องก๊าซเรือนกระจกเพราะว่าพลาสติกชนิดนี้มีอัตราการย่อยสลายที่ช้ากว่าและไม่เกิดปฏิกิริยาใดๆ ในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจนในกระบวนการฝังกลบ

 

 เรียบเรียงและแปลโดยสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

อ้างอิงจาก:OmnexusbySpecialChem